วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สูตรการผลิตอาหารปลานิล

สูตรการผลิตอาหารปลานิล

จากการเรียนรู้ศึกษาการเลี้ยงปลานิลของคุณอนันต์ พิทยานุกุล เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลบ้านใหม่บัวแดง หมู่ที่ 14 ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมือง จ.เชียงราย พบว่าอาหารปลานิล สามารถผลิตได้เอง ไม่จำเป็นต้องซื้อจากท้องตลาดเสมอไป อาหารปลานิลที่ผลิตด้วยตนเอง ใช้วัสดุทั่วไปในท้องถิ่น อาหารที่ผลิตได้ยังมีคุณภาพมากกว่าอาหารปลาตามท้องตลาดทั่วไป มีวิธีการทำ ดังนี้

วัสดุ ส่วนผสม



  •  กากถั่วเหลืองอบ 50 กิโลกรัม
  •  รำละเอียด 50 กิโลกรัม
  •  ข้าวโพดป่น 50 กิโลกรัม
  •  หอยเชอรี่ดิบทั้งเปลือก 1 ถังสี
  •  กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม

วิธีทำ


  •  นำกากถั่วเหลืองอบ,รำละเอียด,ข้าวโพดป่น คลุกเคล้าให้เข้ากันในกะละมังขนาดใหญ่
  •  ผสมกากน้ำตาล 1 กิโลกรัมกับน้ำเปล่าครึ่งกิโลกรัมคนให้เข้ากันมากที่สุด จากนั้นนำไปราดลงผสมบนอาหารที่ผสมไว้ดังกล่าว คนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันตีให้พอหมาด
  •  เทหอยเชอรี่ดิบทั้งเปลือกตัวเป็นๆลงผสมกับอาหารในกระมัง คนให้เข้ากัน จากนั้นนำไปเข้าเครื่องอัดให้ได้ออกมาเม็ดๆ
  •  นำไปตากแดดให้แห้ง สามารถนำไปเลี้ยงปลานิลในช่วงเร่งเจริญเติบโตได้
อาหารสูตรดังกล่าว คุณอนันต์ลองผิดลองถูกมาค่อนข้างมาก ปัจจุบันคุณอนันต์จะไม่ซื้ออาหารปลาสำเร็จรูปจากตลาดทั่วไปแต่คุณอนันต์จะผลิตใช้สูตรอาหารดังกล่าวเลี้ยงปลานิล ต้นทุนอาหารจะถูกกว่าหลายเท่าเฉลี่ยแล้วต้นทุนเพียงกิโลกรัมละ 13 บาท โปรตีนที่ปลาจะได้รับยังสูงกว่าอาหารปลาทั่วๆไปอีกด้วย นอกจากสามารถนำมาเลี้ยงปลานิลได้ตั้งแต่เริ่มปล่อยจากกระชังอนุบาล ยังสามารถนำสูตรดังกล่าวไปเลี้ยงปลาดุกอย่างได้ผลดีอีกด้วย


การนำอาหารสูตรดังกล่าวมาใช้เลี้ยงปลานิล

คุณอนันนต์ จะให้อาหารปลานิล ทุกๆวันวันละ 1 ครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการให้อาหารปลานิลคือช่วงกลางวันอากาศเปิดแสงแดดสามารถส่องลงถึงพื้นน้ำ เพราะถ้าให้อาหารปลาในช่วงอาการปิด ปลาจะไม่สามารถกินอาหารได้ แต่ถ้ากินอาหารลงไปปลานิลจะไม่สามารถย่อยอาหารด้วยตนเอง เนื่องจากออกซิเจนมีน้อย

แหล่งที่มาของข้อมูล :

คุณอนันต์ พิทยานุกุล

การทำอาหารปลากินพืชสูตรประหยัด

การทำอาหารปลากินพืชสูตรประหยัด


อาหารปลากินพืช ใช้ได้กับปลากินพืชทุกชนิด ส่วนผสมเหมือนกันกับสูตรอาหารปลากินนื้อแต่ใช้ปริมาณไม่เท่ากัน ในส่วนของอาหารปลากินพืชจะใส่พืชเยอะ อาหารปลากินเนื้อจะใช้อาหารเสริมโปรตีนเยอะ ตามธรรมชาติของปลา


สูตรอาหารปลากินพืช ใช้ได้กับปลากินพืชทุกชนิด

ส่วนผสม


  1. พืชสีเขียว เช่น ผักบุ้ง กระถิน ฯลฯ 5 กก.
  2. ปลาป่นหรือหอยเชอรี่ 1 กก.
  3. รำละเอียด 2 กก.
  4. ปลายข้าวต้มสุก 1 กก.
  5. ข้าวโพดป่น 1 กก.
  6. กล้วยน้ำว้า/ฟักทอง/มะละกอ (ใช้อะไรก็ได้) 1 กก.
  7. เกลือ 2 ขีด
  8. กากน้ำตาล 5 ช้อนโต๊ะ
  9.  EM หรือน้ำจุลินทรีย์ 2 ช้อนโต๊ะ ( ถ้าไม่มีก็ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรหอยเชอรี่ สูตรปลา เหมาะจะใช้ในสูตรอาหารปลากินสัตว์ น้ำหมักเปลือกมังคุด น้ำหมักพืชผัก เหมาะสำหรับใช้ในสูตรอาหารปลากินพืช หรือสูตรไหนแทนก็ได้)

***รำละเอียด วัตถุดิบอาหารที่ที่เป็นผลพลอยได้จากการสีข้าว เช่นเดียวกับปลายข้าว แต่ว่ารำละเอียดมีไขมันเป็นส่วนประกอบอยู่ในระดับค่อนข้างสูงมาก(ประมาณ 12-13 เปอร์เซ็นต์)และเป็นไขมันที่หืนได้ง่าย ในภาวะที่อากาศร้อน และมีความชื้นในอากาศสูง รวมทั้งมีการถ่ายเทอากาศไม่ดีเช่นสภาวะการเก็บรำละเอียดในกระสอบป่านธรรมดา รำละเอียดจะเริ่มหืนเมื่อเก็บไว้ 30-40 วัน และไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงสัตว์ คุณสมบัติมีโปรตีนประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นรำที่ได้จากโรงสีขนาดกลาง หรือเล็กซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า รำปิ่นแก้ว จะมีโปรตีนต่ำกว่าประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีส่วนของแกลบปนอยู่มากมีไขมันสูง 12-13 เปอร์เซ็นต์ ทำให้หืนง่ายเก็บไว้ได้ไม่นาน มีไวตามินบี ชนิดตางๆสูง ยกเว้นไนอะซีน ซึ่งอยู่ในรูปสัตว์ใช้ประโยชน์ได้น้อย ฉะนั้นเกษตรกร ควรเลือกซื้อรำที่ใหม่และไม่มีการปลอมปนด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ดินขาวป่น หินฝุ่น ซังข้าวโพดบดละเอียดเป็นต้น และไม่ควรเก็บรำละเอียดไว้นานเกิน 30-40 วัน เพราะรำละเอียดจะเริ่มหืนเสียคุรค่าทางอาหาร***


วิธีทำ


นำหอยเชอรี่มาบดทั้งเปลือก/ปลาป่น ข้าวโพดป่น จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดมาใส่ในกะละมัง ตามอัตราส่วนกำหนดข้างต้น ผสมให้เข้ากัน หากต้องการทำให้เป็นเม็ดก็นำเข้าเครื่องอัดเม็ด โดยขนาดนั้นสามารถเลือกได้ตามต้องการ หรือจะปั้นเป็นก้อนก็ได้ ขนดเล็กใหญ่ แล้วแต่ขนาดขอลปลา จากนั้นนำไปผึ่งลมให้แห้ง

การนำไปใช้


นำไปหว่านให้ปลากิน วันละครั้ง 2 มื้อ เช้า-เย็น หว่านให้ทั่วบ่อ จุดเดิมเสมอ เพื่อให้ปลาเคยชิน หว่านให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที

ประโยชน์


  •   ใช้เป็นอาหารปลากินพืชได้ทุกชนิด
  • ปริมาณที่ใช้ โดยใช้วิธีสังเกต ให้อาหารปลาจะกินหมดภายใน 30 นาที
  • ประหยัดกว่าซื้ออาหารปลาสำเร็จรูป
  • มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน
  • ปลาโตเร็ว ใช้ระยะเลาการเลี้ยงเพียง 3 เดือนก็สามารถจับมาบริโภค หรือจับไปจำหน่ายได้


ภูมิปัญญาจาก : คุณบุญเพ็ง คำเลิศ เกษตรกรบ้านนาทุ่งพัฒนา ต. สำโรงตาเจ็น อ.ขุขันธุ์ จ. ศรีสะเกษ

วิธีเลี้ยงไก่อินทรีย์และสูตรอาหารลดต้นทุน

วิธีเลี้ยงไก่อินทรีย์และสูตรอาหารลดต้นทุน


ข้อแตกต่างของการเลี้ยงไก่ไข่ที่อยู่ในกรงและไก่ไข่อินทรีย์แบบปล่อย

  • ไก่ไข่ที่เลี้ยงในกรง จะมีอายุการให้ไข่ไม่เกิน 1 ปีครึ่ง
  • ไก่ไข่อินทรีย์ เลี้ยงแบบปล่อย จะมีอายุการให้ไข่ 2 ปีขึ้นไป
  • การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย ไก่ไข่อารมณ์ดี
  • เลี้ยงแบบปล่อย ไก่ได้แสดงพฤติกรรมธรรมชาติ ไม่เครียด ไก่ได้คุ้ยเขี่ย ไซร้ปีก คลุกฝุ่น ไข่ในรัง นอนคอน อยู่กันแบบรวมกลุ่มไก่ได้จิกกินอาหารธรรมชาติ หญ้า สมุนไพร หนอนและแมลง ไก่ได้รับวิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ


ข้อดีของการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย ไก่ไข่อารมณ์ดี

  • ไก่มีความสุข อารมณ์ดี ทำให้แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค
  • ไก่ได้รับอาหารธรรมชาติ ให้ไข่เป็นไปตามธรรมชาติ มีคุณค่าทางอาหารสูง
  • เหมาะสำหรับการเลี้ยงกับเกษตรกรรายย่อย ใช้อาหารสัตว์ที่มีในท้องถิ่น
  • ผลิตไข่และบริโภคในชุมชน สนับสนุนอาชีพให้กับเกษตรกรรายย่อย
  • ไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงแบบปล่อย ไก่ไข่อารมณ์ดี
  • ไข่ขาวข้นเห็นได้ชัดเจน
  • ไข่แดงนูนเด่น รสชาติดี
  • ไม่เสี่ยงต่อสารเคมียาสัตว์ตกค้าง
  • มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า
  • แม่ไก่อารมณ์ดี ได้รับการดูแลด้วยความรัก เพราะถูกเลี้ยงปล่อยแบบอิสระตามธรรมชาติอยู่ในฟาร์มเล็กๆ ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกเย็นสบาย ร่มรื่น ไม่ต้องอุดอู้อยู่ในกรงตลอดเวลา แม่ไก่จึงไม่เครียดและให้ไข่ที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ


อาหารหลักของแม่ไก่เป็นอาหารชั้นดี

           คือ ข้าวโพดปลอดสารพิษที่ปลูกขึ้นเฉพาะ กากถั่วเหลือง รำข้าว ปลาป่น และทำน้ำสมุนไพรชีวภาพให้แม่ไก่กิน ทำให้แม่ไก่แข็งแรง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ไข่แดงจะออกเป็นสีเหลืองธรรมชาติ เพราะไม่ได้ใช้สารเร่งเพื่อทำให้มีสีแดงสดอย่างฟาร์มอื่นทั่วไปใช้กันไข่ขาวจะไม่มีความแน่น ไม่คาวจัด จึงสัมผัสถึงความอร่อยของไข่จากแม่ไก่อารมณ์ดี ได้อย่างสนิทใจ   นำน้ำหมักชีวภาพเป็นโปรไบโอติค (สิ่งส่งเสริมชีวิต) ซึ่งตรงกันข้ามกับสารที่ฟาร์มไก่ทั่วไปใช้คือ แอนติไบโอติค (สิ่งทำลายชีวิต) หรือยาปฏิชีวนะผลที่ตามมาอย่างน่าพอใจคือ ทำให้ไก่สดชื่นมีภูมิคุ้มกันโรค เป็นการถอนยาปฏิชีวนะของจากไก่ได้  ไก่ปล่อยมีความเป็นอิสระ ได้รับการดูแลด้วยความรัก ไม่ใช่ถูกขังอยู่ในคอนโดไก่ที่มีหน้าที่เพียงออกไข่และรอวันตาย แต่แม่ไก่สุขภาพดี จึงทำให้ไข่ไก่คุณภาพดีด้วย….ผลผลิตที่ฟาร์มภูมิใจเสนอต่อผู้บริโภคที่เข้าถึงความสำคัญของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกว่าจะเป็นไก่ไข่อารมณ์ดี



อาหารไก่ไข่ลดต้นทุน ที่ขอแนะนำ เป็นสูตรอาหารของคุณบุญล้อม เต้าแก้ว 

(นอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังช่วยให้ไก่ไข่แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค ลดกลิ่นเหม็นของมูลไก่ ไข่ไก่สีสวย ไข่แดงสดใส)



วัตถุดิบ

  • หยวกกล้วยหั่นละเอียด 20 กิโลกรัม
  • กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
  • เกลือเม็ด 1/2 กิโลกรัม

ขั้นตอน

  • ใส่ส่วนประกอบทั้ง 3 ลงไปในถังหมัก แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • ปิดฝาถังหมัก เก็บไว้ที่ร่มประมาณ 7 วัน

อัตราส่วน

  •  ใช้ผสมกับหัวอาหาร โดยมีอัตราส่วนดังนี้ สูตรอาหารไก่ไข่ลดต้นทุน 1 กก. ต่อ หัวอาหารไก่ไข่ 10 กก. ต่อไก่ 30 ตัว ต่อวัน (นำไปให้ไก่ไข่กินวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น)หรือใช้สูตรอาหารหมัก โดยใช้ส่วนประกอบดังนี้

  •   หยวกกล้วยหั่นและทุบให้นิ่ม 30 กก.
  •   ข้าวลีบ 10 กก.
  •   รำละเอียด 10 กก.
  •   ปลายข้าว 1.5 กก.
  •   น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
  •   เกลือ 200 กรัม
  •   ขี้วัวแห้งบดละเอียด 4 กก.
  •   ดินแดงร่วน 2 กก.

วิธีทำ

  •    เติมส่วนประกอบทั้งหมดลงไปในถังหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  •    เตรียมน้ำสะอาด 20 ลิตร แล้วเติมน้ำหมักจุลินทรีย์ 40 ซีซี และกากน้ำตาล 40 ซีซี
  •    ค่อยๆเทน้ำลงไปในถังหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากันจนจับกันเป็นก้อน
  •    ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่ร่ม ทิ้งไว้ 7 วัน หลังจากนั้นสามารถนำไปให้ไก่ไข่กินได้ เช้า และเย็น ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนค่าอาหารมากกว่าอาหารสำเร็จรูป 3 เท่า



เทคนิคการใช้ผักตบชวาให้ไก่ไข่กินเป็นอาหารเสริม

วิธีการ

  • นำผักตบชวาที่เก็บได้ในท้องถิ่น มาทำการโยนให้ไก่ไข่กินในช่วงเช้า วันละ 1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 10 กิโลกรัม หลังจากไก่ไข่กินใบผักตบชวาหมด ให้ทำการหว่านข้าวเปลือกตามไปให้ไก่กินอีกวันละ 6 กิโลกรัม แค่นี้ไก่ไข่ที่เลี้ยงไว้ก็จะมีสุขภาพดี ท้องเย็น ไม่ป่วยง่ายและยังให้ผลผลิตไข่ดีอีกด้วย


หมายเหตุ : เศษผักตบชวาที่เหลือ จะผสมกับมูลไก่ กลายเป็นปุ๋ยอย่างดี สามารถนำไปใส่พืชที่ปลูกไว้ได้เป็นอย่างดี

การขยายพันธุ์ไก่ไข่

ในระหว่างการเลี้ยงแบบอินทรีย์นี้ อัตราส่วนที่เหมาะสม ปล่อยไก่ตัวผู้ 1 ตัว ต่อไก่ไข่ตัวเมีย 5 ตัว ทั้งนี้เพื่อการเพาะพันธุ์ลูกไก่ไข่ โดยไม่ต้องเสียเงินไปซื้อไก่ไข่สาวมาเลี้ยง ที่ราคาค่อนข้างแพง การขยายพันธุ์เองนี้ นอกจากจะประหยัดค่าไก่ไข่แล้วยัง สามารถให้เรารู้ถึงรุ่นไก่ไข่ในแต่ละรุ่น

แผนการเลี้ยงไก่ไข่แบบประหยัด พอเพียง แนวอินทรีย์

       หากเราจะเลี้ยงไก่ไข่แบบอินทรีย์อย่างจริงจัง ให้ได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแล้วล่ะก็ ควรจะมีการวางแผนที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นเลี้ยงหรือก่อนเลี้ยงไก่ไข่ โดยเริ่มต้นเลี้ยงที่จำนวนน้อยๆสัก 10-20 ตัว แล้วค่อยเพิ่มจำนวน เราจะได้ใกล้ชิด และสังเกตุพฤกติกรรมของไก่ไข่ รวมถึงอาหารการกิน และโรคที่เกิดขึ้นกับไก่ไข่ ในระหว่างการฝึกหัดเลี้ยงนั้น ควรจัดสถานที่เพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ไว้เอง (เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง โดยไก่ไข่ 1 ตัว / ตารางเมตร)  เช่น กล้วย ข้าว ผักสวนครัวจำพวกกวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า ข่า ตะไคร้ พริก มะละกอ ตำลึง กระถิน สำหรับเป็นอาหารหลัก อาหารเสริมของไก่ไข่ ส่วนฟ้าทะลายโจร ลูกใต้ใบ ต้นโทงเทง หนุมานประสานกาย เป็นสมุนไพรสำหรับไก่ไข่ ให้ไก่ทนทานต่อโรคและรักษาโรคต่างๆ จัดสัดส่วนของพื้นที่ให้เหมาะสม และที่ผู้เขียนอยากจะแนะนำเพิ่มคือ การปลูกกล้วยน้ำว้า และหน่อไม้ เพื่อจัดเป็นแหล่งคุ้ยเขี่ยหากินแมลงและปลวกของไก่ไข่ ตามธรรมชาติ การเลี้ยงแบบนี้จะช่วยให้ไก่ไข่อารมณ์ดี สุขภาพแข็งแรง อายุยืน และจะช่วยให้เรามีรายได่ต่อที่สอง คือสามารถนำกล้วย และหน่อไม้ไปขายได้อีกทางหนึ่ง




ที่มา: farmlandthai.com

ข้อดีและข้อด้อยของการทำเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน


ข้อดีการทำเกษตรอินทรีย์




1. ด้านสิ่งแวดล้อม

  • ช่วยสร้างสมดุลของทรัพยากรในระบบนิเวศโดยรอบ
  • ช่วยสร้างความหลากหลายของชนิดทรัพยากรในพื้นโดยรอบแปลงเกษตร
  • ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในดิน น้ำ และพืช


2. สุขภาพ

  • ลดความเสี่ยงจากพิษของสารเคมีที่อาจปนเปื้อนมากับพืช และสัตว์
  • ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานที่ดี


3. อาหาร และความมั่นคงทางอาหาร

  • สามารถสร้างอาหารที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชน ได้แก่ ผลผลิตไม่มีสารตกค้าง ผลผลิตมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่มีโรค ไม่มีแมลง เป็นต้น
  • สามารถสร้างความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรที่มีผลต่อการผลิต ได้แก่ ทรัพยากรดินมีความสมบูรณ์ ทรัพยากรน้ำไม่เน่าเสียหรือไม่มีสารปนเปื้อน และสิ่งมีชีวิตมีความหลายหลาย และมีปริมาณที่สมดุลกัน
  • สร้างความหลากหลายของอาหาร ด้วยการปลูกพืชหลายชนิดตามฤดูกาล และตามปัจจัยที่มีจำกัด เช่น ในนาปลูกข้าว คันนาปลูกกล้วย บ่อน้ำเลี้ยงปลา เป็นต้น
  • สามารถผลิตอาหารได้อย่างต่อเนื่องในทุกฤดูกาล ด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนตามปัจจัยที่มีจำกัด เช่น หน้าฝนปลูกข้าว หน้าหนาวปลูกถั่ว เป็นต้น
  • รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า



4. รายได้

            การทำเกษตรอินทรีย์ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตได้มากขึ้น ช่วยให้มีรายได้ที่สูงขึ้นตามมา เนื่องจาก ประชาชนทุกวันนี้หันมาให้ความใส่ใจทางด้านสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องอาหารการกินที่ต้องปราศจากสารพิษใด ดังนั้น การเลือกซื้อผลผลิตทางการเกษตร ประชาชนจึงมักเลือกซื้อผลิตจากแปลงเกษตรอินทรีย์มากกว่าการเกษตรในรูปแบบอื่นที่มีสารเคมีมาเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น หากได้รับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ก็ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือในผลผลิตมากขึ้น ทั้งในรูปแบบเกษตรกรรายเดี่ยว กลุ่มเกษตรกร และหน่วยงานผู้ประกอบการ

            รายได้ส่วนหนึ่งนอกเหนือจากการขายสินค้าได้มากแล้ว ยังเป็นผลมาจากการประหยัดต้นทุนการผลิต เนื่องจากรูปแบบเกษตรอินทรีย์ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งปัจจัยการผลิตจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี หรือสารกำจัดศัตรูพืช แต่จะใช้ทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่นแทน ซึ่งมีราคาถูกหรือไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อาทิ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด สารสกัดจากพืชสำหรับฉีดป้องกันแมลง เป็นต้น

5. ด้านสังคม

  • รู้จักฝึกตนให้เป็นคนขยัน มีมานะอุตสาหะต่อการทำงานหนัก เพราะระบบเกษตรอินทรีย์จะต้องมีภาระที่เกษตรกรต้องจัดการ และเอาใส่ด้วยตนเองมากขึ้น
  • เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่อาศัย และเกื้อกูลต่อธรรมชาติมากขึ้น หันมาบริโภคอาหารจากธรรมชาติมากขึ้น หันมาใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมากขึ้น ลดการพึ่งปัจจัยการผลิตภายนอก ทั้งปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูพืช และสารอื่นๆ
  • เกษตรกรรู้จักพึ่งพาอาศัยกันทั้งขั้นตอนการผลิต การหาปัจจัยช่วยในการผลิต และการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้จำหน่ายได้มากขึ้น ซึ่งอาจผ่านทางการรวมกลุ่มของเกษตรกรหรืการแลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิต และผลผลิตระหว่างเกษตรกรเอง
  • เกิดการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ชุมชน และสังคมในการมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้งดิน และน้ำ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการผลิต และการจัดการผลผลิต
  • เกิดจิตสำนึก รู้เห็นคุณค่าของทรัพยากรในธรรมชาติมากขึ้น



ข้อด้อยการทำเกษตรอินทรีย์

  1.  ผลผลิตจากการทำเกษตรอินทรีย์จะให้ปริมาณน้อยกว่าระบบเกษตรที่ใช้สารเคมี สิ่งนี้มักเกิดจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การใส่ปุ๋ยที่เป็นวัสดุอินทรีย์เพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการธาตุอาหารของพืช ดังนั้น เมื่อเทียบกับเกษตรที่ใช้ปุ๋ยเคมีก็ย่อมที่จะให้ผลผลิตที่ต่ำกว่า อีกทั้ง การใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ได้จากธรรมชาติมักไม่ได้ผลในแมลงศัตรูพืชบางชนิด
  2. คุณภาพของลักษณะผลผลิตมักด้อยกว่าเกษตรที่มีการใช้สารเคมี อาทิ ปัญหาผลิตมีรอยกัดกินของแมลง ผลผลิตเน่าเสียง่าย ผลผลิตมีรูปทรงหรือสีสันไม่สดใส เป็นต้น


เกษตรอินทรีย์ คืออะไร

เกษตรอินทรีย์

       คือการทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดินความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลิตสูงอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษโดยมีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจพอเพียง แก่มวลมนุษยชาติ และสรรพชีวิต


เกษตรอินทรีย์คืออะไร ?

        - ให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีกว่า
        - ให้อาหารปลอดสารพิษสำหรับชีวิตที่ดีกว่า
        - ให้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพื่อเศรษฐกิจที่ดีกว่า
        - ให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีกว่า
        - ให้ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่า
        - ให้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า

 ผลผลิตพืชอินทรีย์เป็นอย่างไร?

        - มีรูปร่างดีสมส่วน
        - มีสีสวยเป็นปกติ
        - มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ
        - มีโครงสร้างของเนื้อนุ่มกรอบแน่น
        - มีรสชาติดี
        - ไม่มีสารพิษตกค้าง
        - เก็บรักษาได้ทนทาน
        - ให้สารอาหารและพลังชีวิต



 เป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร  

        การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้นควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ และศรัทธาหลักทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไม่นานก็จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับประเภทของเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วข้อสำคัญนั้น อยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ถ่องแท้มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรคใด มีความสุขในการปฏิบัติก็จะบรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้เพราะเกษตรอิทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริงเมื่อเกษตรอินทรีย์แล้วสามารถขอรับรองมาตรฐานจากภาครัฐจึงจะนับได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์อันเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน


มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทยมีประเด็นหลักสำคัญ ดังนี้

       - ที่ดินไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด
       - พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ตกค้าง
       - ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต
       - ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีสังเคราะห์
       - ไม่ใช้สิ่งที่ได้จากการตัดต่อทางพันธุกรรม
       - ไม่ใช้มูลสัตว์ที่เลี้ยงอย่างผิดมาตรฐาน
       - ปัจจัยการผลิตจากภายนอกต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน
       - กระบวนการผลิตต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์
       - ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม

       - ต้องได้รับการรับรองมารฐานอย่างเป็นทางการ